วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์


สมเด็จพระนเรศวร แห่งอยุธยาได้ใช้เป็นฐานที่มั่นเพื่อเตรียมการรบกับพม่าในสองครั้ง คือ ปี ๑๕๙๐ และปี ๑๖๐๕ จึงเป็นที่มาของชื่อที่เรียกกันว่า ทุ่งใหญ่นเรศวร ก็คือ ทุ่งหญ้าใหญ่ขององค์สมเด็จพระนเรศวร พื้นที่ทุ่งหญ้าสะวันนามักจะปราศจากสัตว์อยู่ อาศัย ส่วนพื่นที่ภูเขาปกคลุมไปด้วยต้นไม้ก็ไม่เหมาะในการเพาะปลูก ปัจจุบัน ยังเป็นแหล่งเพาะเชื่อโรคมาเลเรียอยูและนั่นก็คือเหตุผลที่ป้องกันมนุษย์เข้ามา เปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมและป่ายังอยู่ในสภาพธรรมชาติ และเพราะเหตุนี้สัตว์ป่าทั้งหมดที่มักพบอยู่ในป่าในแถบเอเชียอาคเนย์ก็จะพบได้ในพื้นที่ป่าแห่งนี้ รวมทั้งสัตว์ป่าหายาก เช่น เสือ เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าแห่งนี้ได้รับการประกาศขึ้นในวันที่ ๒๔ เดือนเมษายน ปี ๒๕๑๗



ภาพภูมิอากาศ

บริเวณสภาพภูมิอากาศของเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าอยู่ในเขตโซนร้อนหรือเขตกึ่งร้อน subtropics ขึ้นอยู่กับความสูงของพื้นที่ อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ระหว่าง ๑๕ ถึง ๓๕ องศาเซลเซียสในหน้าร้อน ส่วนในหน้าหนาวอยู่ที่ ๒๐ ถึง ๓๙ องศาเซลเซียส และอยู่ระหว่าง ๑๐ ถึง ๒๙ ในหน้าแล้ง อยู่ที่ ๑๐ ถึง ๒๙ องศาเซลเซียส, และปริมาณฝนเฉลี่ยอยู่ที่ ๒๐๐๐ มิลลิเมตร



ลักษณะทางภูมิศาสตร์

เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่ห้วยขาแข้งมีป่าชุ่มน้ำที่สำคัญ ป่าชายเลน อ่างเก็บน้ำเล็ก ๆ หนอง และบึงอีกหลายแห่ง

พันธ์พืช

พืชชนิด vegetation types หลักในเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่เป็นป่าดิบเขา (54,900 เฮกเตอร์), ป่าดิบแล้ง (112,900 เฮกเตอร์), ป่าเบญจพรรณ (164,100 เฮกเตอร์) and ป่าเต็งรัง (3,600 เฮกเตอร์), ทุ่งหญ้าสะวันนา (9,900 เฮกเตอร์), ทุ่งหญ้า (3,900เฮกเตอร์) และพื้นที่การเกษตรไร่เลื่อนลอย (15,400เฮกเตอร์).



พันธ์สัตว์

สัตว์ป่าที่พบในเขตรักษาป่าทุ่งใหญ่นเรศวรประกอบไปด้วยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ๑๒๐ ชนิด นก ๔๐๐ ชนิด สัตว์เลี้อยคลาน ๙๖ ชนิด สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ๔๓ ชนิด และปลาน้ำจืด ๑๑๓ ชนิด อาจมีสัตว์หลายชนิดมากกว่าแต่ยังไม่มีการสำรวจและยืนยันอย่างเป็นทางการ สำหรับเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่ามีพื้นที่ใหญ่พอที่จะรองรับสัตว์ใหญ่ที่เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งอาจหาได้ยากหรือไม่สามารถพบได้แล้วในพื้นที่ทั่วไปในประเทศไทย แต่สามารถพบได้ที่นี้ เช่น เสือ, เสือดาว, เสือดาวลายเมฆ, ช้างเอเชีย, สมเสร็จ, แรดสุมาตรา (Sumatran), กระทิง (gaur) , (mainland serow) และกวาง (hog deer) ในปี ๒๕๒๘ มีการพบฝูงกระทิง โคปรี? (gaur) กว่า ๕๐ ตัว ซึ่งเป็นฝูงที่ใหญ่ที่สุดที่เคยบันทึกมาในประเทศไทย ในเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าแห่งนี้ไม่มีการยืนยันว่าพบวัวแดงและควายป่าแม้ว่าทั้งสองชนิดอาศัยอยู่ในเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งที่อาศัยอยู่ใกล้ ๆ ในปี ๒๕๓๕ มีการถ่ายรูปรอยเท้าของแรดชวา (Javan rhinoceros) ที่คาดว่าน่าจะอาศัยอยู่ไม่ไกลจากพื้นที่


แหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยว

เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ๒ กิโลเมตรจากอาคารสำนักงานซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเขตมรดกโลกจะช่วยให้นักท่องเที่ยวเรียนรู้และเข้าใจชนิดพันธ์พืชในบริเวณป่าได้อย่างดี


ที่พัก

ทิศตะวันออก บริการพื้นที่ตั้งเต็นท์ที่อาคารสำนักงานของเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่ด้านทิศตะวันออก

การเดินทาง

ทิศตะวันออก ๕๐ กิโลเมตรจากอำเภออุ้มผาง (จังหวัดตาก) โดยไปกับบริษัททัวร์หรือโดยรถยนตร์ส่วนตัวตามเส้นทางหมายเลข ๑๐๙๐ และอาจไม่จำเป็นสำหรับการใช้รถยนตร์ขับเคลื่อนสี่ล้อ



การเดินทางสู่เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า

เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรมีกฏเกณฑ์ที่เข้มงวดมากกว่าอุทยานแห่งชาติในการที่จะเปิดรับนักท่องเที่ยว เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าได้กำหนดขึ้นเป็นพื้นที่ให้สัตว์ได้อยู่และ เคลื่อนที่อย่างสะดวกและโดยไม่มีการรบกวนอย่างดีที่สุด ดังนั้นจะเปิดต้อนรับเฉพาะเพื่อการทำวิจัยหรือเพื่อการศึกษา หรือ การทำงาานแบบอาสาสมัครเท่านั้น



การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในผืนป่าตะวันตก

เนื่องจากผืนป่าตะวันตกยังคงความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติจึงเหมาะสมสำหรับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ระบบนิเวศที่หลากหลายครอบคลุมตั้งแต่ผืนป่าเขตร้อน ป่าชายเลน ป่าทุ่งหญ้า ที่ราบ จนผืนป่าเชิงเขาทำให้เกิดความหลากหลายทั้งพันธุ์สัตว์และพรรณพืช และความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ เช่น น้ำตก ถ้ำ ภูมิทัศน์ที่สวยงาม และเส้นทางเดินป่าที่น่าสนใจให้กับนักศึกษาธรรมชาติ
ลักษณะทางภูมิศาสตร์

ครอบคลุมพื้นที่กว่า ๑๘๗๓๐ ตารางกิโลเมตร ลักษณะทางภูมิศาสตร์ ของผืนป่าตะวันตกมีตั้งแต่ราบต่ำถึงภูเขาสูง จากเทือกเขาเย็นและเทือกเขาเต่าดำทางด้านทิศเหนือคลุมพื้นที่ภูเขาหินปูน หุบเขาและที่ราบลุ่มและอ่างเก็บน้ำจืดอยู่ส่วนกลาง ลาดลงไปสู่เทือกเขาตะนาวศรีที่ยาวไปจนเชื่อมต่อกับชายแดนพม่า บริเวณพื้นที่แห่งนี้ก่อให้เกิดทั้งแม่น้ำ ลำธาร ถ้ำ หน้าผา น้ำตกและจุดชมภูมิทัศน์ที่สวยงาม และที่สำคัญยังมีต้นน้ำที่กำเนิดลุ่มน้ำอีกกว่า ๖ แห่งจากลุ่มน้ำหลัก ๒๕ ทั้งหมดในประเทศไทย



สภาพอากาศ
อากาศร้อนมากในหน้าแล้ง มีความชื้นมากในหน้าฝน และค่อนข้างหนาวเย็นในหน้าหนาว นี้เป็นเพียงการสรุปโดยกว้าง ๆ ทั่วไป แต่สำหรับพื้นที่โดยรวมซึ่งอาจยังไม่นัก ซึ่งยังมีข้อยกเว้นอีกมาก ยกตัวอย่างเช่น ภูเขาที่คอยปกป้องอุทยานแห่งชาติเอราวัณจากลมมรสุมด้านทิศตะวันออกส่งผลให้ปริมาณฝนโดยเฉลี่ยน้อยลงในขณะที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานมีฝนตกหนักเนื่องจากสภาพอากาศใกล้หมดฤดูฝน


ฤดูในการท่องเที่ยว ช่วงที่เหมาะที่สุดสำหรับการเดินทางไปเยี่ยมชมผืนป่าตะวันตก คือฤดูหนาว แต่สำหรับการชมความสวยงามของน้ำตกและปริมาณอย่างเต็มที่ ฤดูฝนก็จะเหมาะกว่าเนื่องจากระดับน้ำเพิ่มขึ้นสูงสุด ในบางพื้นที่ อุณหภูมิ อาจสูงขึ้นได้ถึง ๔๐ องศาเซลเซียส ในเดือนเมษายนและพฤษภาคม และลดลงต่ำถึง ๓ องศาในเดือนธันวาคม

1 ความคิดเห็น: